เมนู

เพียงความไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. ส่วนคำว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ นี้ เป็นคำแสดง
เพียงสักว่าความไม่มีวิตกและวิจารเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นตรัสอวิตักกะอวิจารแล้ว ก็พึงตรัสอีกโดยแท้.
บทว่า สมาธิชํ (เกิดแต่สมาธิ) ความว่า เกิดแต่สมาธิในปฐมฌาน
หรือแต่สมาธิที่สัมปยุตกัน. บรรดาสมาธิทั้ง 2 นั้นแม้ฌานที่หนึ่งเกิดแต่สมาธิ
ที่สัมปยุตกันก็จริง. แต่ที่แท้ สมาธินี้เท่านั้น ย่อมควรกล่าวคำว่า สมาธิ
เพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวเกินไป โดยเป็นการเว้นจากการกำเริบของวิตก
และวิจาร และเพราะเป็นเหตุให้สมาธิผ่องใสดี ฉะนั้น เพื่อกล่าวยกย่องทุติย-
ฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สมาธิชํ นี้ทีเดียว. คำว่า ปีติ สุขํ
นี้ มีนัยตามที่กล่าวมาแล้ว. คำว่า ทุติยํ นี้ ชื่อว่า ที่สองโดยลำดับแห่ง
การนับ
. ที่ชื่อว่า ที่สอง เพราะอรรถว่า ย่อมบรรลุฌานที่สองนี้ ดังนี้ก็ได้.
ในคำว่า ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ เป็นต้น พึงทราบการลด
บทวิตกและวิจารในฌานหมวด 5 พึงทราบการลดบทสัมมาสังกัปปะในหมวด 5
แห่งมรรค. พึงทราบวินิจฉัยบทที่มีการจำแนกและไม่มีการจำแนกด้วยสามารถ
แห่งหมวด 5 แห่งฌานและหมวด 5 แห่งมรรคเหล่านั้น. แม้ในโกฏฐาสวาระ
ก็มีพระบาลีมาว่า ฌานประกอบด้วยองค์ 3 มรรคประกอบด้วยองค์ 4 ดังนี้.
คำที่เหลือนอกจากนี้เป็นเช่นกับปฐมฌานนั่นแล.
ทุติยฌานจบ

อธิบายตติยฌาน



พึงทราบวินิจฉัยในตติยฌานนิทเทส ต่อไป
บทว่า ปีติยา จ วิราคา (เพราะคลายปีติ ) ความว่า ความรังเกียจหรือ
ความก้าวล่วงปีติมีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ (ความคลายราคะ)